เทคนิคเขียนบทความแบบง่าย ๆ ใคร ๆ ก็ทำได้

สาระเพื่อนักเขียน

สำหรับธุรกิจในปัจจุบันนี้ ต่างพากันเข้าแข่งในตลาดออนไลน์ ดังนั้นจึงทำให้อาชีพรับเขียนบทความ เป็นที่ต้องการมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่า สำหรับการเขียนบทความนั้น ไม่ว่าจะสั้นหรือยาว ส่วนสำคัญ และจำเป็นสำหรับธุรกิจบนตลาดออนไลน์ เพื่อดึงดูดความสนใจ หรือสร้างแรงดึงดูดในการขายสินค้า และบริการให้มากยิ่งขึ้น และด้วยเหตุผลนี้เอง จึงส่งผลให้งานรับเขียนบทความ ขยายตัวเป็นวงกว้างมากขึ้น และอย่างรวดเร็ว

ดังนั้นในวันนี้ หากใครกำลังสนใจรับงานเขียนบทความ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร รวมไปถึงคนที่ยังไม่เคยเขียน แต่อยากที่จะเขียน เราขอแนะนำเทคนิคแบบง่าย ๆ ที่ใครก็สามารถทำได้ เพื่อที่คุณได้นำไปปรับใช้ ให้เหมาะกับแนวทางการเขียนของคุณ ดังนี้ครับ

เทคนิคเขียนบทความสุขภาพ ให้คนสนใจ

กำหนดประเด็นของงานที่จะเขียน โดยเป็นเหมือนกับการวางทิศทางของงาน ก่อนที่คุณจะรับงานเขียนบทความ รวมไปถึงจุดประสงค์ของงานเขียน เพื่อที่จะทำให้คุณเลือกแนวทางการเขียน ได้อย่างเหมาะสม ไม่หลงประเด็น และรู้สึกคล้อยตามในสิ่งที่เขียน

สรุปจบ หยุดคนอ่าน นอกจากจะเขียนเรื่องราวเป็นอย่างดีแล้ว บทสรุปจบบทความที่สามารถเขียนให้ดึงดูคนอ่านได้นั้น ก็สามารถสร้างความรู้สึกดี ๆ ได้เช่นเดียวกัน เพราะบทความที่สร้างแรงดึงดูดในบทสรุป ส่งผลให้ทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจ และสร้างความอยากติดตามผลงานเขียนของคุณในอนาคตได้

เล่าเรื่องอย่างมีจุดพีค หรือจุดพลิกผันของเรื่อง จุดนี้ เพื่อเป็นการดึงอารมณ์ของคนอื่น ที่กำลังประสบปัญหาเดียวกัน ให้มีส่วนรวมในบทความ และร่วมตัดสินใจว่า ตนเองควรทำเช่นไร และจะทำตามที่ผู้เขียนแนะนำไว้หรือไม่ หรืออาจสร้างแนวทางใหม่ ที่อาจจะดีกว่า เมื่อได้อ่านบทความนั้น ๆ

ซึ่งสิ่งสำคัญ สำหรับการสร้างจุดพีค คือ คุณต้องระวังไม่ให้เกิดความสับสน ระหว่างการสร้างจุดพีค กับ บทสรุปของเรื่องราว เพราะจุดพีคไม่สามารถบอกได้ว่า ผู้อ่านจะพบกับอะไรในอนาคต เพียงแค่ชี้ให้เห็นว่า ผู้เขียนได้ผ่านอะไรมาบ้าง แล้วมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เป็นอย่างไร จุดนี้นับได้ว่า เป็นส่วนสำคัญ ที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับผู้อ่านได้ รวมไปถึงสร้างการตัดสินใจบางอย่างได้อีกด้วย

เขียนบทความอย่างไร ให้ออกมาน่าสนใจ

สำหรับการเขียนบทความให้ออกมาน่าสนใจ จำเป็นต้องสื่อสารออกมาให้ครบถ้วน เพื่อเป็นการสร้างจินตนาการตามเรื่องราว นำเสนอโดยการใช้หลัก 5W + 1H ยังคงใช้ได้เสมอกับการเขียนบทความออกมาให้น่าสนใจ

Who = ใคร

What = ทำอะไร

When = เมื่อไหร่

Where = ที่ไหน

Why = ทำไม

How = อย่างไร